ในบทความคณะรัฐบาลใช้ พฤติกรรมของสัตว์ 4 ประเภท แทนภาพอนาคตทั้ง 4 แบบ เพื่อให้ความรู้กับประชาชน
ในเว็บไซต์กล่าวว่า
- นกกระจอกเทศมุดหัวลงในพื้นทราย (Ostrich) – เป็นอนาคตแบบที่ทุกฝ่ายไม่ต้องการการเจรจา ต่างคนต่างปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเหมือนกับพฤติกรรมของนกกระจอกเทศ ที่เอาหัวมุดลงไปในดินไม่สนใจภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นข้างนอก
- เป็ดง่อย (Lame Duck) – อนาคตแบบนี้ ทุกกลุ่มต่างเริ่มหันหน้าเข้ามาคุยกัน เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรคเกิดขึ้นแต่ด้วยเป็นรัฐบาลผสมทำให้ไม่มีเสถียรภาพ ตลอดจนไม่สามารถควบคุมกลุ่มต่างๆ ทำให้วิกฤตทางการเมือง
- อิคารัส (Icarus) – อนาคตแบบนี้คือรัฐบาลผิวดำได้รับชัยชนะในช่วงแรก แต่ก็ต้องออกนโยบายประชานิยมขึ้นเพื่อให้ได้รับเสียงสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆ ให้รัฐบาลอยู่ต่อไปได้ นโยบายประชานิยมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปัญหาขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก จนวิกฤตทางเศรษฐกิจ และปัญหาสังคมตามมา เปรียบเสมือนวีรบุรุษอิคารัสในเทพนิยายกรีก ที่มีปีกเป็นขี้ผึ้ง แต่บินสูงเกินไปจนถูกดวงอาทิตย์แผ่ความร้อนลงมาทำให้ขี้ผึ้งละลายจนร่วงตกลง สู่พื้นดิน
- นกฟลามิงโกโบยบิน (Flight of the Flamingos) – เป็นอนาคตที่ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูงได้ มีธรรมาภิบาล ไม่มีการคอร์รัปชั่น มีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนทุกกลุ่มไม่ว่าจะผิวสีใดหรือชนเผ่าใดก็ ตามในประเทศ
(ผมย่อไปไปเยอะ สามารถอ่านตัวเต็มในเว็บ SIU นะครับ)
ภาพทั้ง 4 เป็นภาพที่เห็นแล้วนึกตามได้ทันที ที่สำคัญทำให้ประชาชนรู้ว่าเค้ามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงประเทศได้ และรู้ว่าจะสนับสนุนอย่างไร เหมือนการออกแบบ User Interface เราต้องให้ผู้ใช้เห็นภาพรวมของโปรแกรมก่อน จากนั้นเมื่อเค้าเริ่มสนใจในรายละเอียดแต่ละจุด ก็ค่อยๆ เปิดออกมา ทำให้ผู้ใช้ไม่กลัวที่จะใช้โปรแกรม
คนออกแบบ Usability ของนโยบาย ต้องรู้ว่าใครเป็นผู้ฟัง การออกแบบข้อความก็ต้องไม่เหมือนกัน เปรียบเหมือนการออกแบบโปรแกรม Lightroom กับ iPhoto
- โปรแกรม Lightroom มีปุ่มมากมายเพราะสร้างเอาไว้ให้ผู้เชียวชาญได้ใช้งาน คนเหล่านั้นสามารถจ่ายเงิน จ่ายเวลา ในการเรียนรู้โปรแกรม Lightroom เพื่อแลกกับความสะดวกในการจัดการภาพ
- โปรแกรม iPhoto ออกแบบเพื่อคนทั่วไป ดังนั้นโปรแกรมจะลดความสะดวก แลกกับความง่ายในการใช้งาน และการจดจำ
จริงๆ วิธีการนี้ก็คล้ายกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาที่มีเพียงแค่ 10 ข้อ ให้คนจำได้ง่ายและเข้าใจในภาพรวม เมื่อเข้าใจภาพรวมแล้ว การจะเจาะไปในแต่ละข้อก็ง่ายขึ้น ที่สำคัญ 10 ข้อนี้แทบจะเป็นอมตะเพราะมันเรียบง่าย และเป็นความจริงที่คนส่วนมากยอมรับ
เทียบกับการนำเสนอรัฐธรรมนูญไทย ในช่วงที่ผ่านมาที่เอาหนังสือมาแจกหนึ่งเล่ม แถมในเล่มไม่ได้แสดงภาพรวม แต่กลับบอกเป็นข้อๆ ทั้งหมด 183 มาตราเป็นภาษากฏหมายล้วนๆ เปรียบเหมือนเอา Photoshop มาให้ประชาชนทั่วไปใช้
ส่วนตัวผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่าน และมีเพียงบางคนที่พยายามอ่านแล้วเข้าใจ
จุดประกายโดย SIU